การศึกษาภาวะผู้นำจากคุณลักษณะของผู้นำ(Leader Traits) เป็นวิธีการศึกษาวิธีแรกสุด แต่เนื่องจากการศึกษาไม่สามารถยืนยันได้ว่าคุณลักษณะ (Trait) แต่ละคุณลักษณะของ ผู้นำ ส่งผลต่อประสิทธิภาพของภาวะผู้นำได้ จึงได้เปลี่ยนแนวทางการศึกษาไปที่พฤติกรรมหรือแบบของผู้นำในเวลาต่อมา
คุณลักษณะของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ในระยะเริ่มแรกของการศึกษาคุณลักษณะของผู้นำ เหล่านักจิตวิทยาและนักวิจัยได้พยายามแยกแยะคุณลักษณะส่วนตัวของผู้เป็นผู้นำ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ติดตัวผู้นำมาตั้งแต่เกิด มิใช่สิ่งที่ได้รับการพัฒนาให้เกิดขึ้นภายหลัง โดยมีพื้นฐานความเชื่อที่ว่าผู้นำย่อมมีคุณลักษณะบางประการที่แตกต่างไปจากผู้ตาม การศึกษาได้เน้นไปใน 2 ประเด็น คือการศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้นำกับผู้ที่ไม่ใช่ผู้นำ และ การศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้นำที่มีประสิทธิภาพหรือประสบความสำเร็จกับผู้นำที่ไร้ประสิทธิภาพ หรือไม่ประสบความสำเร็จ การศึกษาเปรียบเทียบใน 2ประเด็นข้างต้นนี้ ได้พิจารณาคุณลักษณะใน 3 ด้าน คือ
- · คุณลักษณะด้านกายภาพ
- · ด้านสติปัญญา
- · ด้านบุคลิกภาพของผู้นำ
สต๊อกดิล (Stogdill, 1948) ได้ทบทวนการศึกษาคุณลักษณะของผู้นำที่ทำระหว่างปี ค.ศ.1904 - 1948 จำนวน 124 เรื่อง และสรุปคุณลักษณะของผู้นำที่ช่วยให้กลุ่มสามารถประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ดังนี้คือ
1. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)
1. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)
2. ความพร้อม (Alertness to the need of others)
3. ความเข้าใจในงาน (Understanding of the task)
4. ความริเริ่มและมุ่งมั่นในการแก้ปัญหา (Initiativeandpersistanceindealing withproblems)
5. ความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-confidence)
6. ความต้องการที่จะรับผิดชอบ (Desire to accept responsibility)
7. ความเหนือกว่าและสามารถควบคุม (Occupy a position of dominance and control) อย่างไรก็ตาม การที่ผู้นำจะมีคุณลักษณะอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย ดังที่สต๊อกดิล (Stogdill, 1948 : 46) สรุปไว้ดังนี้
ผู้ที่จะเป็นผู้นำคนอื่นมิใช่สามารถจะเป็นได้โดยการอาศัยแต่เพียงการมีคุณลักษณะทางกายภาพและบุคลิกภาพของผู้นำนั้นเพราะว่าคุณลักษณะของผู้นำจะมีความสัมพันธ์หรือเข้ากันได้กับลักษณะ กิจกรรมและเป้าหมายของผู้ตามด้วยการศึกษาคุณลักษณะในช่วงนี้ ไม่ได้มุ่งเน้นให้ความสนใจว่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จมีคุณลักษณะเฉพาะใดบ้างหากแต่ศึกษาอย่างกว้าง ๆ หาคุณลักษณะของผู้นำที่แตกต่างจากบุคคลอื่นๆในองค์การต่าง ๆ ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้เมื่อศึกษาเฉพาะแต่ละคุณลักษณะ ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีความสัมพันธ์หรือเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้นำประสบความสำเร็จการศึกษาในระยะนี้พบว่าผู้นำที่มีคุณลักษณะเฉพาะบางอย่างอาจจะประสบความสำเร็จในสถานการณ์หนึ่งแต่ไม่ประสบความสำเร็จในสถานการณ์อื่นผู้นำที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันก็สามารถประสบความสำเร็จในสถานการณ์เดียวกันได้ในปี ค.ศ.1974 สต๊อกดิลได้เขียนหนังสือ Handbook of Leadership เสนอการศึกษาคุณลักษณะของผู้นำจากงานวิจัย จำนวน 163 ฉบับ ที่ทำขึ้นระหว่าง ค.ศ.1949 - 1970 การศึกษาทั้ง 163 ฉบับนี้ มีความแตกต่างกันทั้งวิธีการและขอบเขตของความสนใจของงานวิจัยนอกจากจะศึกษาคุณลักษณะของผู้นำที่จะทำให้ประสบความสำเร็จได้ ยังศึกษาถึงทักษะด้านเทคนิคด้านการจัดการรวมทั้งแรงจูงใจในการจัดการด้วย ความแตกต่างในวิธีการและความสนใจแต่ผลของการศึกษายังได้คุณลักษณะเหมือนเดิม ยิ่งส่งผลให้คุณลักษณะที่พบเป็นที่ยอมรับมากขึ้นว่ามีส่วนสนับสนุนหรือเสริมสร้างประสิทธิภาพของผู้นำแม้นจะไม่มีการรับประกันก็ตามผู้นำที่ดีมี 3 ลักษณะคือผู้นำงานผู้นำชีวิตและผู้นำจิตใจผู้นำงาน**มีคิดงานเป็นบอกงานได้เข็นงานเก่งและเร่งแก้ไขปรับปรุงผู้นำชีวิตที่มีผลต่อลูกน้อง มีดูแลชีวิต คิดหาหลักประกันครอบครัว*และชี้แนะด้านชีวิต ผู้นำจิตใจทีมี่ต่อลูกน้องเพื่อครองใจลูกน้องมีคำนึงถึงจิตใจลูกน้อง ปกครองด้วยความเป็นธรรม เป็นแบบอย่างที่ดี สร้างความเป็นกันเอง สร้างความอบอุ่นใจ และเอาใจเขามาใส่ใจเรา