จิตวิทยาได้เริ่มขึ้นโดยนักปราชญ์ชาวกรีกชื่อ เพลโต และอริสโตเติล เพลโตเชื่อว่าการคิดและการใช้เหตุผลเท่านั้นที่ทำให้คนเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เขาสามารถจะเข้าใจได้โดยไม่สนใจวิธีการสังเกตหรือการทดลองใดๆแต่อริสโตเติลกลับเป็นนักสังเกตสิ่งรอบตัวเขาสนใจสิ่งภายนอกที่มองเห็นได้การเข้าใจรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับคนต้องเริ่มด้วยการสังเกตอย่างมีระบบในคริสต์ศตวรรษที่ 13ศาสนาเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องโดยแนวคิดทางศาสนาเน้นว่าจิตเป็นส่วนที่แยกออกจากร่างกายในคริสต์ศตวรรษที่ 15การฟื้นฟูการสืบสวนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อแบบเดิมๆการค้นหาความรู้ใหม่ๆ วิธีการก็เริ่มมีลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอน กล่าวว่า “ทฤษฎีให้แนวทาง การวิจัยให้คำตอบ”โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญระหว่างทฤษฎีและการวิจัยกลางคริสต์ศตวรรษที่17จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19มีกลุ่มแนวคิดที่สำคัญเกิดขึ้น 2กลุ่ม คือกลุ่มประจักษ์นิยมชาวบริเตน (British Empiricism) ที่เชื่อว่าความรู้ผ่านเข้ามาทางสื่อกลางของความรู้สึก จิตเป็นที่รวมของความคิดเห็นจิตวิทยากลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดจิตวิทยากลุ่มสัมพันธนิยม(Associationistic Psychology)นักจิตวิทยาอีกกลุ่มหนึ่งกลับสนใจทางชีวภาพเช่นความแตกต่างระหว่างประสาทส่วนรับความรู้สึกกับประสาทส่วนการเคลื่อนไหว และลักษณะทางกายที่แสดงปฏิกิริยาสะท้อน(reflex)นักจิตวิทยากลุ่มนี้พยายามอธิบายการกระทำของมนุษย์ด้วยหลักการทางฟิสิกส์คือจิตฟิสิกส์ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งเร้ากับประสบการณ์รู้สึกที่ผู้ที่ถูกเร้ารายงานออกมา