แรงจูงใจ(Motives) คือ แรงผลักดันที่เกิดจากความต้องการมากระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางหรือเป้าหมาย แรงจูงใจ มีลักษณะสำคัญ ดังต่อไปนี้
1.เป็นพลังงานที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรม
2.เป็นตัวกำหนดทิศทางและเป้าหมายของพฤติกรรม
3.เป็นตัวกำหนดระดับของความพยายามในการแสดงพฤติกรรม
องค์ประกอบสำคัญของแรงจูงใจที่เป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมคือความต้องการ(Needs)และแรงขับ
องค์ประกอบสำคัญของแรงจูงใจที่เป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมคือความต้องการ(Needs)และแรงขับ
ความต้องการ หมายถึง สภาวะความขาดแคลนของอินทรีย์ โดยเฉพาะความขาดแคลนทางด้านกายภาพ เช่น การขาดอาหารหรือขาดน้ำ เป็นต้น
แรงขับ หมายถึงสภาวะของการถูกกระตุ้นที่มาจากความต้องการเช่น การขาดอาหารก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในเลือดทำให้เกิดสภาวะแรงขับคือความหิว) ขึ้น ซึ่งบุคคลจะพยายามลดแรงขับโดนการกระทำพฤติกรรมบางอย่างในกรณีนี้คือ การหาอาหารมารับประทาน การที่จะเข้าใจความหายของแรงจูงใจได้ดีขึ้น ควรทำความเข้าใจคำศัพท์ทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ ดังต่อไปนี้
แรงขับ หมายถึงสภาวะของการถูกกระตุ้นที่มาจากความต้องการเช่น การขาดอาหารก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในเลือดทำให้เกิดสภาวะแรงขับคือความหิว) ขึ้น ซึ่งบุคคลจะพยายามลดแรงขับโดนการกระทำพฤติกรรมบางอย่างในกรณีนี้คือ การหาอาหารมารับประทาน การที่จะเข้าใจความหายของแรงจูงใจได้ดีขึ้น ควรทำความเข้าใจคำศัพท์ทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ ดังต่อไปนี้
1.ความต้องการ(Needs)คือ สภาพอินทรีย์ขาดสมดุล ซึ่งจะก่อให้เกิดแรงผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อกลับเข้าสู่สมดุลตามเดิม
2.แรงขับ(Drives)หมายถึง แรงผลักดันซึ่งเกิดภายในตัวบุคคล เป็นสภาพที่สืบเนื่องมาจากความต้องการทางกาย ทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ความต้องการและแรงขับนั้นมักเกิดคู่กันเสมอ คือ เมื่อเกิดความต้องการแล้ว ความต้องการนั้นจะเป็นตัวผลักดันให้แสดงพฤติกรรม เรียกว่า แรงขับความต้องการและแรงขับ บางครั้งอาจใช้ในความหมายเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความต้องการทางกายภาพ ซึ่งบางครั้งเรียกว่าแรงขับทางกายภาพ เช่น ความต้องการทางเพศ เป็นต้น แต่บางครั้งก็ใช้ประเด็นที่ว่า แรงขับเป็นผลเนื่องมาจากความต้องการ
3.การตื่นตัว(Arousal)เป็นสภาวะที่บุคคลพร้อมที่จะแสดงพฤติกรรม นักจิตวิทยาค้นพบว่า การตื่นตัวในระดับกลาง จะเป็นผลดีที่สุดต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคล
4.การคาดหวัง(Expectancy)คือการที่บุคคลทายหรือพยากรณ์ล่วงหน้าว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในเวลาต่อไป การคาดหวังนี้จะเกิดในกรณีที่บุคคลมีประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งนั้นมาบ้างแล้ว ได้แก่ การตั้งเป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมาย (Goals) เป้าหมายเป็นทิศทางหรือจุดหมายปลายทางของการกระทำกิจกรรม อันเนื่องมาจาก ความต้องการหรือแรงขับ
5.สิ่งล่อใจ (Incentives) เป็นสิ่งเร้าที่ชักนำบุคคลให้ทำพฤติกรรมเพื่อไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ สิ่งล่อใจ อาจเป็นวัตถุคำพูด สัญลักษณ์ หรือ สิ่งเร้าประเภทอื่น
การจูงใจเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ คือทำให้บุคคลเกิดความต้องการขึ้นมาเสียก่อน จากนั้นหาสิ่งล่อใจเพื่อเป็นเป้าหมายที่จะบอกให้เขารู้ว่าถ้าแสดงพฤติกรรมไปสู่เป้าหมายแล้วจะสามารถสนองตอบต่อความต้องการได้แต่ถ้าพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้ว จะพบว่าการที่จูงใจให้บุคคลแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เราต้องการนั้น กลับเป็นเรื่องยากและซับซ้อนมาก เนื่องจากความแตกต่างระหว่างบุคคล เวลา สถานการณ์ และปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อแรงจูงใจของบุคคลแรงจูงใจทางกายภาพ หรือ แรงจูงใจทางสรีระ (Physiological Motives)
แรงจูงใจทางกายภาพ หรือ แรงจูงใจทางสรีระ เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากความต้องการจำเป็นทางร่างกาย ซึ่งเป็นความขาด หรือ ความพร่องที่เกิดภายในตัวมนุษย์ เมื่อเกิดความขาดขึ้นมนุษย์ก็จะแสดงพฤติกรรมที่มีเป้าหมาย เพื่อลดความขาดนั้น และทำให้ร่างกายกลับเข้าสู่สภาพปกติหรือสภาพสมดุล(Homeostasis)การรักษาสภาพสมดุลนี้อาจเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติภายในร่างกาย เช่น เมื่อร่างกายรู้สึกร้อนเกินไปก็จะมีการหลั่งของเหงื่อเพื่อระบายความร้อน แต่อย่างไรก็ตาม คนเราก็มักแสดงพฤติกรรมต่างๆเพื่อช่วยรักษาสมดุลเหล่านี้ด้วย นอกจากนี้ความต้องการจำเป็นทางกายภาพบางอย่าไม่อาจทำให้เกิดสภาพสมดุลได้โดยกระบวนการภายในดังนั้น การแสดงพฤติกรรมของมนุษย์จึงมีส่วนเกี่ยวข้องในการตอบสนองแรงจูงใจทางกายภาพด้วยเนื่องจากแรงจูงใจทางกายภาพ เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากความต้องการพื้นฐานจำเป็นของมนุษย์ซึ่งชีวิตขาดเสียไม่ได้ จึงมักใช้ชื่อเรียกแรงจูงใจชนิดนี้ว่า แรงจูงใจปฐมภูมิ (Primary Motives) แรงจูงใจทางกายภาพที่สำคัญและมีบทบาทมากต่อพฤติกรรมของบุคคลได้แก่ ความหิว ความกระหาย และจูงใจที่เกิดจากความต้องการต่อไปนี้ คือความต้องการอากาศหายใจ ความต้องการพักผ่อน ความต้องการอุณหภูมิ ที่เหมาะสม ความต้องการกำจักของเสียออกจากร่างกาย และความต้องการทางเพศแรงจูงใจทางจิตวิทยา หรือ แรงจูงใจทางสังคม (Psychological Motives หรือ Social Motives)
แรงจูงใจทางจิตวิทยา หรือ แรงจูงใจทางสังคม เป็นแรงจูงใจที่เกิดความต้องการทางจิตใจและสังคม โดยทั่วไปเกิดจากการเรียนรู้และมีพัฒนาต่อเนื่องจากการที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม แรงจูงใจทางจิตวิทยานี้ถึงแม้ไม่ได้ตอบสนองก็ไม่มีผลโดยตรงต่อการมีชีวิตอยู่แต่มีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกและสภาพจิตใจของบุคคล เนื่องจากโดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นไม่ได้ดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่ต้องการทางร่างกานเท่านั้นแต่ยังทำพฤติกรรมต่างๆเพื่อแสวงหาความต้องการทางอื่นด้วย เช่น เกียติยศชื่อเสียง อำนาจ และยอมรับนับถือจากผู้อื่น เป็นต้น