1. การสรรหาว่าจ้างที่ไม่สมเหตุสมผลบางครั้งฝ่ายบุคคลคัดเลือกคนลงในตำแหน่งที่ว่างอยู่เพียงเพราะอัตราการจ่ายผลตอบแทนที่ตกลงกันได้ แต่กลับไม่เลือกคนที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม เพียงเพราะสิ่งที่เขาเรียกร้องนั้นมากเกินไปแต่อย่างไรก็ดี ไม่ว่าตลาดแรงงานจะอยู่ ในภาวะฝืดเคืองแค่ไหนจะต้องมีคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและไม่เรียกร้องมากไปอยู่ตรงไหนสักแห่งจริงอยู่ว่าทักษะทุกอย่างเป็นสิ่งที่ฝึกฝนและสร้างขึ้นใหม่ได้แต่จะไม่เป็นการดีกว่าหรือ หากสิ่งเหล่านั้นมีอยู่แล้วในตัวพนักงานที่คุณรับเข้ามา
2. การฝึกอบรมที่ไม่เพียงพอมีแนวโน้มว่าพนักงานหนึ่งในสามของตลาดแรงงานในปัจจุบันนั้นเป็นพวกที่เปลี่ยนงานปีต่อปีข้อสังเกตนี้ทำให้ผู้ประกอบการมองว่าการฝึกอบรมให้กับคนที่ไม่รู้ว่าจะอยู่กับองค์กรอีกนานเท่าไหร่เป็นค่าใช้จ่ายที่เสียเปล่าเมื่อไม่มีการพัฒนาบุคลากร ความผูกพันกับหน่วยงานของพนักงานก็ยิ่งน้อยลงความทุ่มเทให้กับงานและหน้าที่ก็ยิ่งน้อยลงไปด้วยทำไมผู้บริหารไม่ลองคิดเสียใหม่ล่ะว่าการฝึกอบรม
3. การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ บ่อยครั้งพนักงานที่ทำงานดีมักจะได้รับมอบหมายงานเกินกว่าหน้าที่ เพียงเพราะเจ้านายคาดหวังว่างานที่ออกมา จะดีกว่าให้คนอื่นๆทำจำไว้อย่างหนึ่งว่าเราไม่สามารถเติมน้ำสามลิตรลงในภาชนะสำหรับบรรจุน้ำเพียงหนึ่งลิตรได้บางครั้งพนักงานบางคนอาจจะทำงานได้ดีขึ้น ถ้าถูกกระตุ้นให้ทำงานเยอะขึ้นก็จริงแต่อย่าลืมว่าทุกอย่างมีขีดจำกัดด้วยกันทั้งนั้น
4. การวางนโยบายขององค์การทุกองค์การมีเป้าหมายในการดำเนินงานแต่ว่าผู้บริหารและพนักงานทุกคนก็มีเป้าหมายในชีวิตของตนเช่นกันหากพนักงานมองว่าตำแหน่งที่เขามี งานที่ทำอยู่เป็นเครื่องมือในการพาเขาก้าวไปสู่เป้าหมายทางการเงินความมั่นคงทางอาชีพและสังคมที่ตั้งไว้ นั่นจะช่วยทำให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การและอยากจะทุ่มเทกับการพัฒนาผลิตภาพในองค์การมากขึ้น
5. หมดไฟในภาวะเศรษฐกิจปกติการออกจากงานของพนักงานส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยสมัครใจและสาเหตุหลักก็คือ "การหมดไฟ"*อาการเบื่องานของพนักงานไม่ใช่สิ่งที่เกิดเพียงข้ามคืน แต่เป็นกระบวนการที่อาศัยเวลาและเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็มักจะ มีความเกี่ยวข้องมาจากสาเหตุสี่ประการข้างต้นดังนั้น หน้าที่ของผู้บริหารก็คือคอยสังเกตสัญญาณเตือนเพื่อหาโอกาสในการป้องกันตอบโต้และแก้ไขเพื่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากร ที่มีคุณภาพและเป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่มผลผลิตต่อไป