2. ความเป็นมาของมนุษยสัมพันธ์

         


      มีการศึกษามนุษยสัมพันธ์เพื่อให้เป็นเครื่องมือสำคัญ  ในการบริหารมีมานานแล้ว ตั้งแต่ก่อน ปี ค.ศ.1930   มนุษยสัมพันธ์ได้รับการสนใจในแง่เป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่การปรับปรุงงาน การจัดการและอยู่ร่วมกันในองค์การอย่างราบรื่น ความรู้เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ มีปรากฏในเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์เพื่อการครองใจกัน ความผูกพันรักใคร่ ความเข้าใจซึ่งกันและกัน ยังมีปรากฏอยู่ในคำสั่งสอนของศาสนาหลังจากปฏิวัติอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกาและยุโรป เทย์เลอร์ (Taylor) และคณะ ได้พัฒนาระบบการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) เพื่อเพิ่มผลผลิตโดย มีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อขจัดสาเหตุการไม่ลงรอยกัน ระหว่างนายจ้างกับผู้ทำงาน เทย์เลอร์ มีความเชื่อว่า ถ้านายจ้างสามารถทำงานร่วมกับผู้ทำงานได้ก็จะส่งถึงผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเทย์เลอร์ยังเชื่อว่า มนุษยสัมพันธ์ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการทำงานในการพัฒนาระบบการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์แนวใหม่ มีการพัฒนาการประเมินทักษะและความสามารถ โดยการพัฒนาระบบการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์แนวใหม่ มีการพัฒนาการประเมินทักษะและความสามารถ โดยการใช้แบบทดสอบและการฝึกอบรมเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้บริหารทางธุรกิจหลายท่านเชื่อว่า แบบทดสอบสามารถคัดเลือกคนได้ แต่ไม่ทั้งหมดมีการเปลี่ยนแปลงด้านมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานมากขึ้นทำให้การทำงานและการบริหารงานเป็นระบบระเบียบ ต่อมา ในระหว่างปี ค.ศ.1927-1932 มีการศึกษาทดลองที่มีชื่อเสียงมาก เป็นที่รู้จักเกี่ยวกับการศึกษา ฮอธอร์น (Hawthorne Studies) โดย เมโย (Mayo) และคณะ ได้ทำโครงการศึกษาวิจัยร่วมกันระหว่าง The National Research Council กับ The Massachusetts Institute of Technology ที่โรงงานฮอธอร์น ของบริษัท Western Electric ในเมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ  ที่ส่งผลต่อการทำงานของคน ได้แก่ ความเข้มของแสง การถ่ายเทอากาศ  และความเหนื่อยล้าของคนงาน ผลการวิจัยพบว่า ผลผลิตของการทำงานมิได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมอื่นๆ  ด้วยเป็นต้นว่าขวัญของกลุ่ม และการจูงใจส่วนบุคคลพอจะสรุปแนวความคิดของเมโยดังนี้
1.  เกี่ยวกับกลุ่ม พฤติกรรมกลุ่ม มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมของแต่ละบุคคล
2.  เกี่ยวกับการให้รางวัลและการลงโทษพบว่าการได้รับการยอมรับนับถือการให้ความเห็นอกเห็นใจ
3.  เกี่ยวกับการบริหาร พบว่า การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอยู่กับผู้บริหารที่มีความสามารถในการสื่อการเป็นนักฟังที่ดี ไม่วางตนเป็นเจ้านายมีอำนาจเหนือคนอื่น
4.  เกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการได้พบว่าการให้ผู้ทำงานจัดการรับผิดชอบงานด้วยตนเองช่วยให้บรรยากาศการทำงานเป็นไปด้วยมิตรภาพคนทำงานเกิดความพึงพอใจ และเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้นด้วย 
             ผลจากการศึกษาวิจัยครั้งนั้น ยังคงใช้เป็นแนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับมนุษย สัมพันธ์ ในระยะเวลาต่อมา จากหลักการและความพยายามที่จะบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ  โดยอาศัยปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับความเข้าใจพื้นฐานในความต้องการของมนุษย์ เมโยจึงได้รับสมญาว่าเป็นบิดาแห่งมนุษยสัมพันธ์แนวความคิดของเมโยแตกต่างไปจากความคิดของเทย์เลอร์  ซึ่งเมโยเชื่อว่า การเพิ่มผลผลิตในการทำงานมิได้เป็นผลมาจากการทำงานของผู้ทำงานแต่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคลฝ่ายต่าง ๆ อย่างราบรื่นมากกว่า มนุษยสัมพันธ์ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นในภาคอุตสาหกรรมจนถึงหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 มนุษยสัมพันธ์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งขึ้น  เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งการแสวงหาสันติภาพ อิสรภาพและการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ ในธุรกิจอุตสาหกรรมโดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่ม และให้ความสนใจในสัมพันธ์ภาพของมนุษย์  คนทำงานมีโอกาสได้รับความรู้และพัฒนาด้านทักษาทางสังคมมากขึ้น สามารถได้รับการตอบสนองซึ่งความต้องการและสร้างสรรค์งานของตนให้ดีขึ้น
          นักพฤติกรรมศาสตร์ให้ความสนใจมนุษยสัมพันธ์เชิงพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ เพื่อความเข้าใจพฤติกรรมของคน เข้าใจอิทธิพลของสภาพแวดล้อมต่อพฤติกรรมของบุคคล และเชื่อว่า ความเชื่อของบุคคลมีผลต่อพฤติกรรมต่าง ๆ  นอกจากนั้นก็มีการศึกษาและเผยแพร่ทฤษฎีทางธุรกิจและสังคมศาสตร์ที่สำคัญ 2ทฤษฎีโดยแมคเกรเกอร์ (McGregor) ได้แก่ ทฤษฎี X และทฤษฎี Y โดยอาศัยแนวความคิดด้านมนุษยนิยม มาสโลว์ (Maslow) ได้ศึกษาระดับความต้องการของมนุษย์ อันมีผลต่อการศึกษามนุษยสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง ในระหว่าง ค.ศ.1940 และ 1950 มีนักจิตวิทยาหลายท่าน เช่น โรเจอร์ส (Rogers) และ เลวิน (Lewin)รวมทั้งนักสังคมวิทยา เช่น เบล (Bell)และมิลล์ (Mills) ต่างให้ความสนใจเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์มากขึ้น ต่อจากนั้นมา มนุษยสัมพันธ์จึงกลายเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งที่มีการเปิดสอนอย่างเป็นทางการและได้รับการยอมรับจากบุคคลในวงการธุรกิจมาก
           ในระยะต้น ๆ ของปี ค.ศ.1980 เป็นที่น่าสังเกตว่า ทฤษฎีทางธุรกิจ และแนวความคิดเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ ได้มีการพัฒนาในประเทศอื่น ๆ เช่น ทฤษฎี Z เน้นปรัชญาการทำงานของญี่ปุ่น มีความเชื่อว่าเวลาของชีวิตการทำงาน ความมั่นคงขององค์การและกลุ่ม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจากแนวโน้มดังกล่าวมานี้ื จึงได้มีการพัฒนาวิชามนุษยสัมพันธ์ ให้เป็นแขนงวิชาเฉพาะมากขึ้น ได้แก่  มนุษยสัมพันธ์สำหรับแพทย์ มนุษยสัมพันธ์สำหรับผู้บริหาร มนุษยสัมพันธ์ ในองค์การและมนุษยมพันธ์สำหรับครูเป็นต้นนอกจากจะมีการเปิดสอนวิชามนุษยสัมพันธ์ในทุกสายวิชาชีพแล้ว