สาเหตุและความจำเป็นที่มนุษย์ต้องสร้างและใช้มนุษยสัมพันธ์นั้นเรื่องนี้ได้กล่าวไว้ว่าเป็นเพราะความว้าเหว่เพราะว่าเป็นมนุษย์เป็นสัตว์สังคมจะอยู่คนเดียวในโลกไม่ได้จะรู้สึกเหงาจึงต้องสร้างและใช้มนุษยสัมพันธ์โดยการคบเพื่อนเพื่อให้คลายเหงาความรักมนุษย์ต้องการแสดงออกซึ่งความรักคือรักบุคคลที่เกี่ยวข้องและต้องการให้เขารักตอบด้วยจะแสดงออกในรูปของการรักเพื่อนเพศเดียวกันหรือต่างเพศทั้งความรักอันบริสุทธิ์และความรักด้วยเพสัมพันธ์
1. ความปลอดภัยมนุษย์ต้องรวมกลุ่มกันและสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลหรือกลุ่มที่ช่วยให้เขาปลอดภัยได้ เช่น บุคคลพยายามรู้จักกับเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงานหรือผู้มีอำนาจหรือมีอิทธิพลต่างๆเพื่อความปลอดภัย
2. การปฏิบัติงานมนุษย์ไม่อาจปฏิบัติงานโดยลำพังตนเองได้จะต้องอาศัยหรือเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับผู้อื่นเสมอดังนั้นมนุษย์จึงต้องมีเพื่อนร่วมงานหรือผู้ปฏิบัติงานจะต้องสร้างทางเดินของตนไว้โดยผูกสัมพันธไมตรีกับบุคคลเกี่ยวข้องในลักษณะรู้อะไรไม่สู้รู้จักกันทำให้การปฏิบัติงานราบรื่นและสำเร็จเรียบร้อย
3. ความสำเร็จมนุษย์ทั้งหลายต่างก็หวังที่จะทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายหรือตามวัตถุประสงค์ขององค์การผู้บริหารองค์การจะต้องคำนึงถึงความสำเร็จขององค์การโดยจัดกิจกรรมต่างๆทำให้สมาชิกในองค์การรู้จักกันและสามารถประสานงานให้สำเร็จลุล่วงลงได้ด้วยดี
4. สังคมมนุษยสัมพันธ์เป็นการให้มนุษย์รักกันชอบพอกันให้การยอมรับและคบหาสมาคมซึ่งกันและกันอันจะนำมาซึ่งความสงบสุขในสังคม
5. เศรษฐกิจมนุษยสัมพันธ์เพิ่มผลผลิตได้เพราะมนุษย์มีจิตใจที่เป็นปกติและเป็นสุขเนื่องจากมีมนุษยสัมพันธ์สร้างงานและเพิ่มผลผลิตได้ในขณะเดียวกันการมมนุษยสัมพันธ์จะช่วยเหลือในด้านเศรษฐกิจได้
การเมืองมนุษยสัมพันธ์ช่วยประสานหรือจะช่วยแก้ไขปัญหาทางการเมืองได้ในลักษณะที่เรียกว่า “กาวใจ”จากประวัติศาสตร์ของวงการบริหารและการจัดการในองค์การและสถาบันต่างๆชี้ให้เห็นว่าได้มีการนำระบบทหารมาใช้ ต่อมาได้พัฒนาการบริหารและการจัดการให้ดีขึ้นตามลำดับ มีการนำวิธีการจัดการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ คือ เฟรดเดอริค เทเลอร์ และเฮนรี่ ฟาโยล(Frederick Taylor’s and Henry Fayol’s)ทั้งสองท่านนี้ถือว่า“คนงานเปรียบเสมือนกับเครื่องจักรโดยมิได้คำนึงถึงหลักมนุษยสัมพันธ์ต่อมานักบริหารคนสำคัญคือปาคเกอร์ฟอลเลต และเอลตัน เมโย (Parker Follett’s and Elton Mayo)ได้เป็นผู้ริเริ่มนำหลักมนุษยสัมพันธ์มาใช้ในการบริหารงานเอาใจใส่คนงานปรากฎว่าผลผลิตเพิ่มขึ้น เขาได้ยืนยันว่า มนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญมากกว่าปัจจัยทางด้านวัตถุ
ไพโรจน์ โพธิ์วงศ์ (อ้างโดย ธนา โกมลภิส 2527: 77-84) ได้กล่าวถึงความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ไว้ว่ามนุษยสัมพันธ์มีความหมายลึกซึ้งกว่าความสัมพันธ์ธรรมดาคนเราอาจจะมีความสัมพันธ์กับใครๆก็ได้แต่ถ้าคนเราไม่มีมนุษยสัมพันธ์การติดต่อสัมพันธ์กันนั้นก็จะมีลักษณะไม่ต่างจากความสัมพันธ์ในหมู่สัตว์มีความป่าเถื่อนแก่งแย่งแข่งขันเอารัดเอาเปรียบเป็นศัตรูและห่างเหินกัน ภาวะเหล่านี้คือการแตกสลายของสังคมจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามนุษยสัมพันธ์นั้น อันที่จริงก็คือลักษณะของการกระทำต่อกันทางสังคมในทางบวก อันได้แก่การแบ่งปันกันการทำให้เป็นพวกเดียวกันการร่วมมือกันการผ่อนปรนเข้าหากันและการประสานประโยชน์กัน เป็นต้น และแม้แต่การกระทำต่อกันทางสังคมในทางลบ เช่น การแข่งขันและการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ ธรรมชาติได้สร้างมนุษยสัมพันธ์ให้เป็นเสมือนสายใยที่เชื่อมโยงจิตใจมนุษย์ให้มีความเข้าใจกันและกันไม่แข่งขันห้ำหั่นกันจนตัวเองและสังคมสูญสลายไป
เราจะเห็นว่าธรรมชาติของมนุษยสัมพันธ์ปรากฏอย่างเด่นชัดในคำสอนของบรรดาศาสนาสำคัญ ๆในสังคมต่าง ๆ เป็นเวลานับพันปีมาแล้วเป็นต้นว่าในศาสนาคริสต์มีกฎสำคัญอยู่ว่า“จงปฏิบัติต่อเพื่อนบ้านของท่าน เหมือนที่ท่านปฏิบัติต่อตัวของท่านเอง”หรือในศาสนาพุทธซึ่งเป็นศาสนาสำคัญในสังคมไทยก็มีคำสอนเกี่ยวกับความเมตตากรุณาซึ่งชี้ให้เห็นถึงความทุกข์ยากและความจำเป็นที่มนุษย์เราต้องโอบอ้อมอารีเห็นอกเห็นใจกันแบบ “อกเขาอกเรา”
กระบวนการในความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปของการจูงใจหรือสร้างน้ำใจตามหลักมนุษยสัมพันธ์นั้นมีความสำคัญต่อการบริหารทุกขั้นตอนองค์กรทางการเมืองก็ดีหน่วยราชการก็ดีงานธุรกิจบริษัทหรือกิจการอุตสาหกรรมสมาคมต่าง ๆ จะเจริญก้าวหน้าและดำเนินกิจการไปได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถในการเข้ากับคนงานหรือลูกจ้างการจูงใจให้คนเหล่านั้นร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานให้ได้ผลตามเป้าหมายที่เป็นดังนี้เนื่องจากมนุษยสัมพันธ์เป็นเครื่องมือในการสร้างน้ำใจและผลงานงานจะดำเนินไปได้ด้วยความราบรื่นเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ได้ดีและถูกต้องเพียงใดหรือไม่ทั้งนี้เพราะมนุษยสัมพันธ์จะช่วยส่งเสริมการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นหมู่คณะมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันถ้าหมู่คณะขาดเสียซึ่งมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทั้งในแนวดิ่งและในแนวราบของสายการบังคับบัญชาก็จะมีแต่เรื่องทะเลาะ ยุ่งเหยิงจะหวังให้หมู่คณะหรือ องค์กรนั้นๆทำงานให้สัมฤทธิผลด้วยดี มีความสุขใจในอันที่จะร่วมสร้างศรัทธาในการทำงานให้เกิดขึ้นและมีอยู่ตลอดไปได้อย่างไรในทางการเมืองพรรคการเมืองที่สมาชิกไม่มีมนุษยสัมพันธ์ต่อกัน หัวหน้าพรรคใช้อำนาจเป็นใหญ่โดยไม่คำนึงถึงจิตใจของลูกพรรค ลูกพรรคต่างก็หันหลังให้กันไม่ร่วมมือกัน ต่างคนต่างก็หวังตำแหน่งต่างๆทั้งในพรรคและนอกพรรค ชิงดีชิงเด่นกัน ที่สุดพรรคก็ไปไม่รอดสภาพดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นที่ไหนก็พังที่นั่น ถ้าเกิดในรัฐสภารัฐสภาก็จะกลายเป็นตลาด ถึงเวลาลงคะแนนเสียงวาระสำคัญ ต่างคนต่างพรรคก็ทุ่มเงินซื้อเสียงกัน แต่เงินนั้นไม่สามารถสร้างความจงรักภักดีในระยะยาวเหมือนกับความมีมนุษยสัมพันธ์ต่อกัน
ความมีมนุษยสัมพันธ์ต่อกัน ก็คือ การสร้างความเข้าใจอันดีเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีเกิดความพอใจ เกิดความรักใคร่สิ่งต่าง เหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญของการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มอันจำเป็นอย่างยิ่งต่อสังคมประชาธิปไตยอย่างสังคมไทยเพราะเมื่อมีความรักความเข้าใจดีต่อกันแล้วก็จะเกิดความรู้สึกอยากช่วยเหลือให้ความร่วมมือด้วยความเต็มใจและจริงใจในทางการปกครองปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในสังคมด้อยพัฒนาส่วนมาก คือข้าราชการกับประชาชนเข้ากันไม่ได้วิกฤตการณ์ในภาคใต้ของสังคมไทยปัจจุบัน ก็มีสาเหตุใหญ่มาจากปัญหานี้กล่าวคือเจ้าหน้าที่รัฐบาลทำตัวเป็นนายชาวบ้านถืออภิสิทธิ์ละเลยหลักสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์เกี่ยวกับการสร้างความประทับใจให้บุคคลอื่นโดยการให้เกียรติเขายกย่องให้ความสำคัญแก่เขาเป็นที่ทราบกันดีว่าคนเรานั้น ชื่นชมกับการได้รับยกย่องสรรเสริญเพราะมนุษย์ทุกคนต้องการเกียรติยศชื่อเสียงมนุษยสัมพันธ์จึงควรจะมีอยู่ในทุกกระบวนการของปฏิบัติราชการแต่อำนาจและอภิสิทธิ์ที่ใช้กันมานานเป็นประเพณีทำให้ข้าราชการบางส่วนในสังคมไทยลืมปรัชญามนุษยสัมพันธ์เกี่ยวกับการยอมรับนับถือศักดิ์ศรีของคนทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นมากมายนับแต่การเดินขบวนขับไล่ข้าราชการที่โน่นที่นี่จนถึงปัญหาเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายสำหรับในทางเศรษฐกิจนั้นมีคำกล่าวที่น่าทึ่งอยู่ประโยคหนึ่งว่า “มนุษยสัมพันธ์ เพิ่มผลผลิตได้” ปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งในสังคมด้อยพัฒนาอย่างเรานั้นคือปัญหาเรื่องปากท้องความอดอยากยากจนถ้าระบบการผลิตอาหารและสินค้าต่างๆเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพหรือผลิตมาแล้ว แบ่งสันปันส่วนกันอย่างไม่ยุติธรรมคนจนที่หัวโซเป็นล้านๆจะทำให้สังคมปั่นป่วนและอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบที่หลายคนไม่ปรารถนา
ระบบการผลิตจะมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการทำงานของคน การทำงานของคนแต่ละคนขึ้นอยู่กับมูลเหตุจูงใจที่จะกระตุ้นให้คนทำงาน มูลเหตุจูงใจเหล่านี้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับจิตใจ การมีจิตใจดีจะทำให้การผลิตสูงขึ้นตามเป้าหมายอย่างสมบูรณ์ จิตใจที่ดีนั้นมาจากหลายความรู้สึกที่สำคัญคือความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยการที่ได้รับการยกย่องนับถือการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมและโอกาสก้าวหน้าของชีวิตเมื่อได้ผลผลิตโดยส่วนรวมเพิ่มสูงตามเป้าหมายแล้ว ก็ต้องเอามาแบ่งกันอย่างยุติธรรมคนยากจนควรจะได้รับประโยชน์จากผลผลิตนั้นมากส่วนคนร่ำรวยก็ควรรับประโยชน์จากผลผลิตนั้นตามสมควรตามหลักของประชาธิปไตยที่ว่าคนที่เกิดมามีโอกาสก้าวหน้าของชีวิตสังคมมากกว่ารับและหลักของมนุษยสัมพันธ์ก็ไม่ใช่อะไรอื่นเลย เป็นหลักของการให้ธรรมดาๆนี่เองการให้ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแต่ทรัพย์สินเงินทองหรือผลประโยชน์ที่เป็นวัตถุเพียงอย่างเดียวแต่หมายรวมถึงการให้ความรักความเห็นอกเห็นอกเห็นใจอย่างที่โบราณว่า “ให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา” คนรวยก็ให้ความเห็นอกเห็นใจคนจนต่างฝ่ายต่างเคารพนับถือว่าเป็นมนุษย์มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันมีไม่มีถือถือว่ามีค่ามีประโยชน์ต่อสังคมเหมือนกัน